ประวัติความเป็นมาของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์
ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 วิทยาลัยครูจันทรเกษม มีเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน มีการจัดตั้งคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2519 โดยผลิตบัณฑิตสาขาการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) เท่านั้น ในเวลาต่อมาจึงได้มีการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเปิดสอนสาขาวิชาอื่นๆ นอกเหนือจากสายครูเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของบัณฑิตและสังคม
ในปี พ.ศ.2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานนามวิทยาลัยครูเป็น “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 ดังนั้นวิทยาลัยครูจันทรเกษมจึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “สถาบันราชภัฏจันทรเกษม” และคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” ตั้งแต่นั้นมา
วันที่ 14 มิถุนายน 2547 ได้ประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2549 สถาบันราชภัฏจันทรเกษม จึงเปลี่ยนสถานะเป็น“มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม” ในวันที่วันที่ 23 มิถุนายน 2549 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม โดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มี 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณบดี ภาควิชามนุษยศาสตร์ และภาควิชาสังคมศาสตร์ตั้งแต่มีการจัดตั้งคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในปี พ.ศ.2518 มีวิวัฒนาการการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเปิดสอนสาขาวิชาอื่นๆโดยมีวิวัฒนาการของหลักสูตรดังนี้
พ.ศ.2522 เปิดสอนครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) จำนวน 7 หลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา) สาขาการศึกษา วิชาเอกที่เปิดสอนเป็นรุ่นแรก คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา พร้อมกันนี้ก็ได้เปิดสอนนักศึกษาตามโครงการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำการ (อคป.)
พ.ศ.2523 เปิดสอนครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาเอกภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา
พ.ศ.2527 เปิดสอนครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) หลักสูตร 2 ปี วิชาเอกศิลปศึกษา และ บรรณารักษศาสตร์
พ.ศ.2528 เปิดสอนศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาภาษาอังกฤษ เปิดสอนอนุปริญญาศิลปศาสตร์ (อ.ศศ.) หลักสูตร 2 ปี วิชาภาษาอังกฤษ อังกฤษธุรกิจ และบรรณารักษศาสตร์
พ.ศ.2530 เปิดสอนครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาบรรณารักษศาสตร์ และหลักสูตร 2 ปี (หลังอนุปริญญา) วิชาประวัติศาสตร์เปิดสอนศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาบรรณารักษศาสตร์ เปิดสอนอนุปริญญาศิลปศาสตร์ (อ.ศศ.) หลักสูตร 2 ปี วิชานาฏศิลป์และการละคร
พ.ศ.2531 เปิดสอนครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาดนตรีศึกษา เปิดสอนอนุปริญญาศิลปศาสตร์ (อ.ศศ.) หลักสูตร 2 ปี วิชาดนตรีสากล
พ.ศ.2533 เปิดสอนครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) หลักสูตร 2 ปี (หลังอนุปริญญา) วิชานาฏศิลป์และการละคร เปิดสอนศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์
พ.ศ.2534 เปิดสอนอนุปริญญาศิลปศาสตร์ หลักสูตร 2 ปี วิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์
พ.ศ.2536 เปิดสอนศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาศิลปกรรม (ออกแบบประยุกต์ศิลป์) วิชาภาษาฝรั่งเศสธุรกิจ
พ.ศ.2537 เปิดสอนครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาภาษาฝรั่งเศส
พ.ศ.2538 เปิดสอนศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชารัฐประศาสนศาสตร์
พ.ศ.2544 เปิดสอนศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาการพัฒนาชุมชน
พ.ศ.2546 เปิดสอนศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาวัฒนธรรมศึกษา
พ.ศ.2549 มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรทุกหลักสูตรและเปิดสอนหลักสูตรใหม่ ได้แก่ ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ, ภาษาจีนและภาษาจีนธุรกิจ, ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ, ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์เชิงท่องเที่ยว
พ.ศ.2550 เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่ม คือ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) หลักสูตร 4 ปี
พ.ศ.2558 หลักสูตร เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่ม คือ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตและค.บ.ภาษาจีน
พ.ศ.2559 จำนวน 1 สาขารวมทั้งหมด 15 สาขาวิชา โดยแบ่งออกตามภาควิชาดังต่อไปนี้
พ.ศ.2560 เปิดสอนครุศาสตร์บัณฑิตบัณฑิต (ค.บ.) หลักสูตร 5 ปี ภาษาอังกฤษ,ดนตรีไทยศึกษา โดยเปิดหลักสูตรแยกตามภาควิชาดังนี้
ภาควิชามนุษยศาสตร์
- สาขาวิชาภาษาไทย
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
- สาขาวิชาศิลปกรรม
- สาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปการแสดง
- สาขาวิชาดนตรีสากล
- สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ
- สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ
- สาขาวิชาภาษาจีน (ค.บ.)
- สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ค.บ.)
- สาขาวิชาดนตรีไทยศึกษา (ค.บ.)
ภาควิชาสังคมศาสตร์
- สาขาวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์เชิงท่องเที่ยว
- สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาชุมชน
- สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์
- สาขาวิชาบรรณารักษ์ศึกษาและสารสนเทศศาสตร์
- สาขาวิชานิติศาสตร์
- หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต