ทรงพระ​เจริญ​ ๔ พฤษภาคม ๒๕๖๘ เนื่องในโอกาส " วันฉัตรมงคล "
ด้วยเกล้าด้วยกระหม่อม ขอเดชะ ข้าพระพุทธเจ้า คณะ​ผู้บริหาร​ คณาจารย์​ เ​จ้าหน้าที่​ นักศึกษา​ คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิท​ยาลัยราชภั​ฏจันทรเกษม
ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครเดช มณีภาค
ในโอกาสที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ “ราชภัฏคุณากร” ประจำปี 2568
ขอแสดงความยินดีกับอาจารย์ที่ได้รับทุนสนับสนุนการวิจัยงบประมาณเงินรายได้ ประจำปี 2568 จำนวน 14 คน ดังนี้

คณะมนุษย์ศาสตร์และสังคมศาสตร์ ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ภานุวัฒน์ บุญยัง...

...ขอแสดงความยินดีกับรองศาสตราจารย์ ดร.วิศิษย์ ปิ่นทองวิชัยกุล...

..ขอแสดงความยินดีกับผู้ช่วยศาสตราจารย์เกวรินทร์ พันทวี...

⯑.17 มีนาคม 2568 ประกาศ!! ผลการเลือกตั้งประธานสโมสรนักศึกษา คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ ปีการศึกษา 2568...

⯑⯑⯑...ประมวลภาพกิจกรรม "โครงการเสริมสร้างคุณธรรมและจริยธรรม" สำหรับนักศึกษา ชั้นปีที่ 1 และ ชั้นปีที่ 2...

..ขอแสดงความยินดีกับ ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.อัครเดช มณีภาค ในโอกาสที่ได้รับรางวัลเชิดชูเกียรติ “ราชภัฏคุณากร” ประจำปี...

  ..ขอแสดงความยินดีกับกับผู้ที่ได้รับรางวัล "จันทร์เดือนเพ็ญ" และ "จันทร์พราวแสง" ทั้ง 6...

สุพรรณี
ผศ.ดร.สุพรรณี  ปลัดศรีช่วย
คณบดี
 
สุกานดาผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.สุกานดา สารน้อย
รองคณบดีฝ่ายบริหาร
ณัฐนันท์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ณัฐนันท์ ลีลาชีวสิทธิ์
รองคณบดีฝ่ายวิชาการ
และวิจัย
กรณัทผู้ช่วยศาสตราจารย์กรณัท สร้อยทอง
รองคณบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา
วาทินีผู้ช่วยศาสตราจารย์วาทินี  นิลงามผู้ช่วยคณบดีฝ่ายสื่อสารองค์กรและเทคโนโลยีสารสนเทศ ชวิตราผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.ชวิตรา ตันติมาลา
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายประกันคุณภาพการศึกษาและการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
สุวภัทรอาจารย์ ดร.สุวภัทร พิรณฤทธิ์
ผู้ช่วยคณบดีฝ่ายบริการวิชาการและ
พัฒนาท้องถิ่น
นิรมลผู้ช่วยศาสตราจารย์ ดร.นิรมล ชอุ่ม
หัวหน้าภาคสังคมศาสตร์
ทรงกฤษณ์ผู้ช่วยศาสตราจารย์ทรงกฤษณ์ คมสัน
หัวหน้าภาคมนุษยศาสตร์
ทรรศนีย์2นายวรวิทย์ ราชมภู
ปฏิบัติหน้าที่ในตำแหน่ง
หัวหน้าสำนักงานคณบดี
     


คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ เปิดสอน 2 หลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ. 4 ปี)


สาขาวิชาภาษาไทย สาขาวิชาภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ สาขาวิชาภาษาอังกฤษ สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสธุรกิจ สาขาวิชาการพัฒนาชุมชน สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ สาขาวิชาดนตรีไทย สาขาวิชาดนตรีสากล สาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปะการแสดง สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา สาขาวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์เชิงท่องเที่ยว สาขาวิชาศิลปกรรม (แขนงออกแบบนิเทศศิลป์ และแขนงออกแบบประยุกต์ศิลป์)

หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ. 4 ปี)
สาขาวิชานิติศาสตร์

แนวทางการประกอบอาชีพ


ประกอบอาชีพในด้านสังคมศาสตร์ทั้งหน่วยงานราชการ องค์กรเอกชน รัฐวิสาหกิจ ธุรกิจส่วนตัว เช่น พนักงานบริษัทการท่องเที่ยว พนักงานโรงแรม พนักงานต้อนรับของสายการบินและโรงแรม นักพิสูจน์อักษร บรรณาธิการ นักเขียน นักแปล นักประพันธ์เพลง นักดนตรี เลขานุการ มัคคุเทศก์ ล่าม นักออกแบบคอมพิวเตอร์กราฟฟิก นักแสดง ครีเอทีฟ นักออกแบบผลิตภัณฑ์ นักออกแบบประยุกต์ศิลป์ นักออกแบบงานโฆษณา และงานถ่ายภาพ นักสารสนเทศ เจ้าหน้าที่ศูนย์ข้อมูล เลขานุการงานสารบรรณ นักวิชาการทางวัฒนธรรม นักพัฒนาในองค์กรเอกชน ชุมชน นักการเมืองระดับท้องถิ่น ระดับประเทศ ปลัดอำเภอ นักบริหารงานยุติธรรม ทนายความ พนักงานอัยการ ผู้พิพากษา พนักงานคดีศาลปกครอง ตุลาการศาลปกครอง ทหาร ตำรวจ

ลำดับ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2554 วันอนุมัติจากคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยฯ วันอนุมัติจาก สกอ.
1 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาสารสนเทศศาสตร์ วันที่ 20 เม.ย. 54 4 พ.ย. 54
2 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษ วันที่ 20 เม.ย. 54 27 มิ.ย. 55
3 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาฝรั่งเศสธุรกิจ วันที่ 11 พ.ค. 54 27 มิ.ย. 55
4 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาไทย วันที่ 20 เม.ย. 54 3 ก.ย. 55
5 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีไทย วันที่ 11 พ.ค. 54 4 ต.ค. 55
6 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต การบริหารและการพัฒนาชุมชน วันที่ 20 เม.ย. 55 19 พ.ย. 55
7 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์ วันที่ 20 เม.ย. 55 19 พ.ย. 55
8 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาดนตรีสากล วันที่ 11 พ.ค. 54 19 พ.ย. 55
9 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์เชิงท่องเที่ยว วันที่ 11 พ.ค. 54 20 ธ.ค. 55
10 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ วันที่ 20 เม.ย. 54 19 ก.พ. 56
11 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ วันที่ 20 เม.ย. 54 19 ก.พ. 56
12 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาศิลปกรรม วันที่ 20 เม.ย. 54 19 ก.พ. 56
13 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาชาวิชานาฏศิลป์และศิลปการแสดง วันที่ 11 พ.ค. 54 29 มี.ค. 56
ลำดับ หลักสูตรปรับปรุง พ.ศ. 2555 วันอนุมัติจากคณะกรรมการสภามหาวิทยาลัยฯ วันอนุมัติจาก สกอ.
1 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ วันที่ 11 ม.ค. 55 3 ม.ค. 55
2 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชานิติศาสตร์ วันที่ 11 ม.ค. 55 13 ธ.ค. 55
3 หลักสูตรศิลปศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาวัฒนธรรมศึกษา วันที่ 17 ม.ค. 56 5 เม.ย. 56

ประวัติความเป็นมาของคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์

      ตามพระราชบัญญัติวิทยาลัยครู พ.ศ. 2518 วิทยาลัยครูจันทรเกษม มีเปลี่ยนแปลงการบริหารจัดการและการจัดการเรียนการสอน มีการจัดตั้งคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในวันที่ 21 พฤษภาคม พ.ศ.2519 โดยผลิตบัณฑิตสาขาการศึกษาครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) เท่านั้น ในเวลาต่อมาจึงได้มีการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเปิดสอนสาขาวิชาอื่นๆ นอกเหนือจากสายครูเพื่อให้สอดคล้องกับความต้องการของบัณฑิตและสังคม

      ในปี พ.ศ.2535 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช ได้พระราชทานนามวิทยาลัยครูเป็น “สถาบันราชภัฏ” เมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2535 ดังนั้นวิทยาลัยครูจันทรเกษมจึงเปลี่ยนชื่อใหม่ว่า “สถาบันราชภัฏจันทรเกษม” และคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ก็ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์” ตั้งแต่นั้นมา

      วันที่ 14 มิถุนายน 2547 ได้ประกาศพระราชบัญญัติมหาวิทยาลัยราชภัฏในราชกิจจานุเบกษา ซึ่งมีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 15 มิถุนายน 2549 สถาบันราชภัฏจันทรเกษม จึงเปลี่ยนสถานะเป็น“มหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม” ในวันที่วันที่ 23 มิถุนายน 2549 ได้มีประกาศในราชกิจจานุเบกษา  เรื่อง การแบ่งส่วนราชการในมหาวิทยาลัยราชภัฏจันทรเกษม  โดยคณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์มี 3 หน่วยงาน ได้แก่ สำนักงานคณบดี ภาควิชามนุษยศาสตร์ และภาควิชาสังคมศาสตร์ตั้งแต่มีการจัดตั้งคณะวิชามนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ในปี พ.ศ.2518 มีวิวัฒนาการการพัฒนาหลักสูตรเพื่อเปิดสอนสาขาวิชาอื่นๆโดยมีวิวัฒนาการของหลักสูตรดังนี้

      พ.ศ.2522 เปิดสอนครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) จำนวน 7 หลักสูตรปริญญาตรี 2 ปี (หลังอนุปริญญา) สาขาการศึกษา วิชาเอกที่เปิดสอนเป็นรุ่นแรก คือ ภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา พร้อมกันนี้ก็ได้เปิดสอนนักศึกษาตามโครงการฝึกอบรมครูและบุคลากรทางการศึกษา ประจำการ (อคป.)

      พ.ศ.2523 เปิดสอนครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาเอกภาษาไทย ภาษาอังกฤษ สังคมศึกษา

      พ.ศ.2527 เปิดสอนครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) หลักสูตร 2 ปี วิชาเอกศิลปศึกษา และ       บรรณารักษศาสตร์

      พ.ศ.2528 เปิดสอนศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาภาษาอังกฤษ เปิดสอนอนุปริญญาศิลปศาสตร์ (อ.ศศ.) หลักสูตร 2 ปี วิชาภาษาอังกฤษ อังกฤษธุรกิจ และบรรณารักษศาสตร์

      พ.ศ.2530 เปิดสอนครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาบรรณารักษศาสตร์ และหลักสูตร 2 ปี (หลังอนุปริญญา) วิชาประวัติศาสตร์เปิดสอนศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาบรรณารักษศาสตร์ เปิดสอนอนุปริญญาศิลปศาสตร์ (อ.ศศ.) หลักสูตร 2 ปี วิชานาฏศิลป์และการละคร 

      พ.ศ.2531 เปิดสอนครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาดนตรีศึกษา เปิดสอนอนุปริญญาศิลปศาสตร์ (อ.ศศ.) หลักสูตร 2 ปี วิชาดนตรีสากล

      พ.ศ.2533 เปิดสอนครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) หลักสูตร 2 ปี (หลังอนุปริญญา) วิชานาฏศิลป์และการละคร เปิดสอนศิลปศาสตร์บัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาบรรณารักษศาสตร์และสารนิเทศศาสตร์

      พ.ศ.2534 เปิดสอนอนุปริญญาศิลปศาสตร์ หลักสูตร 2 ปี วิชาออกแบบประยุกต์ศิลป์

      พ.ศ.2536 เปิดสอนศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาศิลปกรรม (ออกแบบประยุกต์ศิลป์) วิชาภาษาฝรั่งเศสธุรกิจ

      พ.ศ.2537 เปิดสอนครุศาสตรบัณฑิต (ค.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาภาษาฝรั่งเศส

      พ.ศ.2538 เปิดสอนศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชารัฐประศาสนศาสตร์

      พ.ศ.2544 เปิดสอนศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาการพัฒนาชุมชน

      พ.ศ.2546 เปิดสอนศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี วิชาวัฒนธรรมศึกษา

      พ.ศ.2549 มีการปรับปรุงและพัฒนาหลักสูตรทุกหลักสูตรและเปิดสอนหลักสูตรใหม่ ได้แก่ ศิลปศาสตรบัณฑิต (ศศ.บ.) หลักสูตร 4 ปี ภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ, ภาษาจีนและภาษาจีนธุรกิจ, ภาษาไทยเพื่อการสื่อสารธุรกิจ, ภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์เชิงท่องเที่ยว

      พ.ศ.2550 เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่ม คือ หลักสูตรนิติศาสตรบัณฑิต (น.บ.) หลักสูตร 4 ปี                       

      พ.ศ.2558 หลักสูตร เปิดสอนหลักสูตรใหม่เพิ่ม คือ รัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิตและค.บ.ภาษาจีน

      พ.ศ.2559 จำนวน 1 สาขารวมทั้งหมด 15 สาขาวิชา โดยแบ่งออกตามภาควิชาดังต่อไปนี้

      พ.ศ.2560 เปิดสอนครุศาสตร์บัณฑิตบัณฑิต (ค.บ.) หลักสูตร 5 ปี ภาษาอังกฤษ,ดนตรีไทยศึกษา โดยเปิดหลักสูตรแยกตามภาควิชาดังนี้

ภาควิชามนุษยศาสตร์

  1. สาขาวิชาภาษาไทย
  2. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ
  3. สาขาวิชาภาษาอังกฤษธุรกิจ
  4. สาขาวิชาศิลปกรรม
  5. สาขาวิชานาฏศิลป์และศิลปการแสดง
  6. สาขาวิชาดนตรีสากล  
  7. สาขาวิชาภาษาจีนธุรกิจ      
  8. สาขาวิชาภาษาญี่ปุ่นธุรกิจ
  9. สาขาวิชาภาษาจีน (ค.บ.)               
  10. สาขาวิชาภาษาอังกฤษ (ค.บ.)      
  11. สาขาวิชาดนตรีไทยศึกษา (ค.บ.)                   

ภาควิชาสังคมศาสตร์

  1. สาขาวิชาภูมิศาสตร์และประวัติศาสตร์เชิงท่องเที่ยว
  2. สาขาวิชาการบริหารและพัฒนาชุมชน
  3. สาขาวิชารัฐประศาสนศาสตร์        
  4. สาขาวิชาบรรณารักษ์ศึกษาและสารสนเทศศาสตร์
  5. สาขาวิชานิติศาสตร์
  6. หลักสูตรรัฐประศาสนศาสตรมหาบัณฑิต